มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - สัมมาทิฏฐิ ( ๒ )
วันนี้จะนำเรื่องของผู้ที่ปฏิบัติสวนทางกับพระนิพพาน มาเล่าสู่กันฟัง เป็นเรื่องของผู้ที่ในใจลึกๆ นั้น มีความปรารถนาอยากบรรลุมรรคผลนิพพาน แต่ด้วยวินิจฉัยยังไม่สมบูรณ์ จึงเข้าใจว่าตนเป็นพระอรหันต์ แม้กระนั้นก็ตาม ดวยความเป็นยอดกัลยาณมิตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำให้ท่านกลับใจ
มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน - บุญหาช่องคอยส่งผล
็เพื่อทำให้ทุกท่านได้เชื่อมั่นและมีกำลังใจในเรื่องการสร้างบารมี เพื่อให้มั่นใจว่า สิ่งที่ดีงามเหล่านี้ บัณฑิตนักปราชญ์ในกาลก่อนล้วนทำมาแล้ว และได้รับผลของการกระทำนั้นอย่างเกินควรเกินคาด ดังนั้นเราทุกคนควรดำเนินตามรอยท่านผู้มีบุญในกาลก่อน ดังเช่นพระเถระรูปนี้
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - ยิ่งให้ยิ่งได้เพิ่ม
สิริ คือ ที่มานอนแห่งโภคทรัพย์สมบัติ ใครมีสิริอยู่ในตัว ย่อมจะเป็นที่มานอนแห่งโภคทรัพย์สมบัติทุกอย่าง เป็นผู้ที่มีเสน่ห์ดึงดูดตาดึงดูดใจของผู้ได้พบเห็น ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะเกิดจากการประกอบเหตุไว้ดี คือ เป็นผู้ที่สั่งสมบุญกุศลไว้มาก เป็นผู้ที่รักในการฝึกฝนอบรมตนเองอยู่เป็นนิตย์ ด้วยการหมั่นรักษาศีล ชำระกาย วาจา ใจให้บริสุทธิ์
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - อานิสงส์ทำบุญทอดกฐิน
นายติณบาลทำงานให้เศรษฐีด้วยความขยันขันแข็ง วันหนึ่ง บุญเก่ามาตักเตือน ทำให้คิดได้ว่า "ตัวเรายากจนเช่นนี้ ก็เพราะไม่เคยทำบุญไว้ในชาติปางก่อน ชาตินี้จึงต้องมาเป็น คนรับใช้ แม้สมบัติติดตัวสักนิดก็ไม่มี ทั้งยังไร้ญาติขาดมิตรที่จะคอยช่วยเหลือ"
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - บุญยังความปรารถนาให้สําเร็จ
พระเถระท่านนี้มีนามว่า พระมหากัจจายนะ เป็นพระอรหันตเถระ ผู้มีผิวพรรณงดงามประดุจทองคำ ท่านมีประวัติ การสร้างบารมีที่น่าสนใจมาก เช่น กระทำการบูชาพระผู้มีพระภาคด้วยการถวายแผ่นอิฐทองคำมีค่าแสนหนึ่ง ทำเป็นฐานของพระสุวรรณเจดีย์ และตั้งความปรารถนาว่า "ด้วยอานุภาพแห่งบุญที่บังเกิดขึ้น จากการถวายแผ่นอิฐทองคำนี้ ทุกภพทุกชาติที่ได้เกิด ขอให้สรีระของข้าพเจ้าจงมีวรรณะเหมือนทองคำ"
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - เปลี่ยนวิถีชีวิตด้วยบุญบารมี
เรื่องมีอยู่ว่า พญาปฐวินทรนาคราช ผู้ได้เสวยสุขอยู่ในนาคพิภพ สมบูรณ์ด้วยสมบัติอันโอฬารล้วนด้วยรัตนชาติ พรั่งพร้อมด้วยเบญจกามคุณทั้งห้า ครั้นได้เสวยสุขสมบัติอันซ้ำซากจำเจอย่างนั้นนานวันเข้า เกิดความเบื่อหน่ายในนาคพิภพ อันเป็นปกติของหมู่สัตว์ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ จึงดำริอยู่ในใจว่า"แม้เราจะสมบูรณ์พรั่งพร้อมด้วยรัตนสมบัติมากมาย แต่ก็ไม่ได้ประเสริฐเท่าใด เพราะยังไม่พ้นจากกำเนิดของสัตว์ที่ต้องเลื้อยคลานไปได้"
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - รู้เท่าไม่ถึงการณ์ (๒)
คนพาลทำกรรมชั่วที่มีผลเผ็ดร้อน แล้วเดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นไม่ดี ไม่ควรกระทำ ส่วนบุคคลใดทำกรรมใดแล้ว มีหัวใจแช่มชื่นเบิกบาน ไม่เดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้น เป็นความดี ควรทำ
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - ธรรมะคุ้มครองโลก
ถ้าชาวโลกประพฤติธรรม ธรรมย่อมคุ้มครองโลก แค่ทุกคนรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ก็สามารถพลิกฟื้นสถานการณ์บ้านเมือง จากภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำ ให้กลับดีขึ้นอย่างอัศจรรย์ ยิ่งถ้าทุกคนปฏิบัติธรรม ทำใจให้หยุดนิ่งพร้อมๆ กันทั่วทั้งโลก ได้เข้าถึงพระธรรมกายกันทุกคน สันติสุขที่แท้จริงย่อมบังเกิดขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย ธรรมะจึงเป็นสิ่งเดียวเท่านั้นที่จะช่วยคุ้มครองโลกให้อยู่รอดปลอดภัย
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - วันสุดท้ายของชีวิต
สรรพสิ่งทั้งปวงที่มีอยู่ในโลก ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ต่างอยู่บนพื้นฐานของความไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เปลี่ยนแปลงไปสู่ความเสื่อมทุกวินาที และสูญสลายในที่สุด ทุกสิ่งล้วนเป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง เราควรแสวงหาสิ่งที่เป็นความสุขที่แท้จริง นั่นคือ “พระธรรมกาย”
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - อสทิสทาน
การให้ทานจะนำเราไปสู่ชีวิตที่สมบูรณ์ เป็นบันไดไปสู่สวรรค์นิพพาน การทำบุญด้วยเจตนาบริสุทธิ์ หวังบุญบารมีเป็นที่ตั้งนั้น จะได้รับอานิสงส์อย่างที่เราคาดไม่ถึง ยิ่งทำถูกเนื้อนาบุญ ผลบุญนั้นก็จะเป็น มหัคคตกุศล ไม่อาจที่จะนับคำนวนบุญที่เกิดขึ้นได้ ว่ามีประมาณเท่าใด การที่เรามีโอกาสทำบุญกับพระภิกษุสามเณร ๑๐๐,๐๐๐ รูป ในเวลาเดียวกันนี้ เป็นความอัศจรรย์ของโลก